[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
บริการข้อมูลสารสนเทศ
รายงานประจำปี

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 56 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สื่อการสอนครู


     

@ นำเสนอผลการเรียนรู้จากการใช้นวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓       

@ การพัฒนารูปแบบการบริหาร ร่วมคิด พาทำ        

@ สื่อการสอน ครูภาวิณี        

@ สื่อการสอน ครูกาญจนา        
 
 
  

เผยแพร่ผลงาน ค.ศ.4
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมี วิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

เจ้าของผลงาน : นางสาวจันทกานต์ ช่อมะลิ
อังคาร ที่ 14 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566
เข้าชม : 2320    จำนวนการดาวน์โหลด : 124 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 7 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ4) ประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ แบบทดสอบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่แบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
  1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือศึกษาต่อในวิชาชีพที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์ได้ โดยจัดเรียงลำดับความยากง่ายของเนื้อหาแต่ละสาระในแต่ละระดับชั้นให้มีการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญทั้งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ 
  2.รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะ สิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคมและสิ่งสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นการเตรียมความพร้อม (Encouragement and Preparation; E) 2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Reviewing Knowledge: R) 3) ขั้นสืบค้นและฝึกปฏิบัติทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Inquiry and Practice Critical Thinking Skill: I) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปความรู้ (Sharing and Summarizing: S)  5) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Application of Knowledge: A) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation: E) และรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ ( )เท่ากับ 83.50/85.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีความเห็นด้วยต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.44 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.75 และนักเรียนมีความเห็นด้วยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในระดับมากที่สุด เนื่องจากครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงนักเรียนมีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์ และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถสร้างองค์ความรู้สึกการคิดและสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้กับผู้อื่นได้



ดาวน์โหลด   ( บทคัดย่อ) 

เผยแพร่ผลงาน ค.ศ.4 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมี วิจารณญาณและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 14/ก.พ./2566
      รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการดำรงชีวิตของพืชโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบกระกระตือรือร้นเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 14/ก.พ./2566
      การพัฒนารูปแบบการสอนกิจกรรมแนะแนว เพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 7/ก.พ./2563
      การพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 7/ก.พ./2563