บทคัดย่อ :
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest) วิชาทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาทัศนศิลป์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดเทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) จำนวน 11 แผน 18 ชั่วโมง มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.82) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ 0.42–0.94 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่า E1 /E2 เท่ากับ 82.30/82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6362 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 63.62
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การวาดภาพสื่อความหมายเรื่องราวในจังหวัดสกลนคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. =0.10)
|