[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
บริการข้อมูลสารสนเทศ
รายงานประจำปี

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 56 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สื่อการสอนครู


     

@ นำเสนอผลการเรียนรู้จากการใช้นวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓       

@ การพัฒนารูปแบบการบริหาร ร่วมคิด พาทำ        

@ สื่อการสอน ครูภาวิณี        

@ สื่อการสอน ครูกาญจนา        
 
 
ผลงานนักเรียน





  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม
โดย : admin
เข้าชม : 231
ศุกร์ ที่ 14 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
A- A A+
        

การเขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน เป็นงานที่รวบรวมความสามารถของบุคคลทางด้านความรู้ และความเข้าใจในภาษาคอมพิวเตอร์ ความเข้าใจในระบบงาน เพื่อให้ ผลงานออกมามีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการ

1.  บอกความหมายขอการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้
2.  อธิบายลักษณะโครงสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้


Embed gadget

 

ภาษาคอมพิวเตอร์

       เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง โดยการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องป้อนคำสั่งให้กับมัน และต้องเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ การนำคำสั่งมาเรียงต่อกันให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า โปรแกรม เมื่อโปรแกรมถูกป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเครื่องจะทำงานทีละคำสั่ง สำหรับการใช้คำสั่งสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานนั้น จะต้องใช้ภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง เมื่อมีการป้อนภาษานี้เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ รหัสเลขฐานสองจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
           แต่ถ้ามนุษย์ต้องการป้อนโปรแกรมให้กับคอมพิวเตอร์เป็นเลขฐานสองนั้น จะทำได้ยากมาก เพราะเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ยาก จึงได้มีการออกแบบตัวภาษาอังกฤษ ให้แทนคำสั่งรหัสเลขฐานสองเหล่านั้น ซึ่งเรียกว่า รหัสนีโมนิก (mnemonic) ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้รหัสนีโมนิกในการเขียนเรียกว่า ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ต่อมาได้มีการพัฒนาชุดคำสั่งภาษาต่างๆ ให้มีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ที่เข้าใจ เรียกว่า ภาษาระดับสูง (High-level Language) ซึ่งมีอยู่หลายภาษา ได้แก่ ภาษาเบสิก ปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น สำหรับภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาที่ทำงานได้เร็วเพราะเข้าถึงหน่วยประมวลผลได้เร็วที่สุด เราเรียกภาษานี้ว่า ภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)

           ภาษาซี ถือเป็นภาษาระดับสูง แต่ความสามารถของคำสั่งภาษาซีบางคำสั่งจะทำงานได้ดี ใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ แถมเขียนได้ง่ายกว่าภาษาแอสเซมบลี และสามารถติดต่อกับฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวแปลภาษา
           ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องทำการแปลภาษาเหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานได้ เมื่อเราพัฒนาโปรแกรม จะต้องสร้างโปรแกรมด้วยการเขียนชุดคำสั่ง ซึ่งชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดก็ได้ จะเรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) หรือ รหัสต้นฉบับ (Source Code) จากนั้นจะนำโปรแกรมต้นฉบับไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง ที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ที่เรียกว่า รหัสภาษาเครื่อง (Executable Program) ซึ่งตัวแปลภาษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Complier)

    1. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
           ตัวแปลภาษาชนิดประเภทอินเตอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลคำสั่งทีละคำสั่ง ให้เครื่องทำงานทีละคำสั่ง หากไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ จะทำแปลคำสั่งถัดไป โดยจะกระทำไปจนจบโปรแกรม หรือพบข้อผิดพลาด เครื่องจะหยุดทำงานทันที และแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบ
           ตัวอย่างภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาชนิดประเภทอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาเพิร์ล (Perl), ภาษาพีเอชพี (PHP) เป็นต้น


2. คอมไพเลอร์ (Complier)
           ตัวแปลภาษาชนิดประเภทคอมไพเลอร์ จะมีวิธีการแปลคำสั่งที่แตกต่างจากตัวแปลภาษาชนิดประเภทอินเตอร์พรีเตอร์ คือแปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งหมดให้เป็นภาษาเครื่องในครั้งเดียว และในกรณีที่พบข้อผิดพลาด จะรายงานให้ทราบเมื่อจบการแปลโปรแกรม ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้โปรแกรมทำงานได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องรอทำทีละคำสั่ง
           ตัวอย่างภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาชนิดประเภทอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี (C) และ ภาษาเบสิกรุ่นใหม่ ๆ เช่น เทอร์โบเบสิก หรือวิชวลเบสิก เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนการทำงาน Algorithm
        การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรทำอะไร มีข้อมูลอะไรที่ต้องให้กับโปรแกรมบ้าง และต้องการอะไรจากโปรแกรมรวมทั้งรูปแบบการแสดงผลด้วย โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมแบ่งได้ดังนี้
1. กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา (Problem Definition and Problem Analysis)
2. เขียนผังงานและซูโดโค้ด (Pseudocoding)
3. เขียนโปรแกรม (Programming)
4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
5. ทำเอกสารและบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Documentation and Maintenance)

 


1. กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา

        ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องทำ การให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาต่างๆ ให้เรานั้น เราจะต้องมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้

1. กำหนดขอบเขตของปัญหา โดยกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปรค่าคงที่ที่ต้องใช้เป้นลักษณะใด ถ้าหากเราไม่กำหนดขอบเขตของปัญหาจะทำให้คอมพิวเตอร์ตัดสินได้ยากว่าข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขั้นนั้นถูกหรือผิด
2. กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ (Input/Output Specification) โดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่จะส่งเข้าไปเป็นอย่างไร เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ เช่น การรับค่าจากคีย์บอร์ด การใช้เมาส์ การกำหนดปุ่มต่างๆ ลักษณะการแสดงผลทางหน้าจอ ว่าจะให้มีรูปร่างอย่างไร โดยคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลักในการออกแบบโปรแกรม
3. กำหนดวิธีการประมวลผล (Processing Specification) ดดยต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลอย่างไร จึงได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

2. เขียนผังงานและซูโดโค้ด

        หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องใช้เครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งยังไม่ได้เป็นโปรแกรมจริง ๆ แต่จะช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น และทำให้ผู้อื่นนำโปรแกรมไปพัฒนาต่อได้ง่ายขึ้น โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ที่เรียกว่า อัลกอริทึม (Algorithm) ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยใช้ประโยคที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ และมีรายละเอียดการทำงานพอสมควรเพียงพอที่จะนำไปเขียนเป็นโปรแกรมให้ทำงานจริง โดยอัลกอริทึมนั้น อาจเขียนให้อยู่ในรูปของรหัสลำลองหรือซูโดโค้ด (Pseudocode) หรือผังงาน (Flowchart) ก็ได้ โดยซูโดโค้ด จะเป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เป็นคำย่อไม่มีรูปแบบเฉพาะตัว โดยแต่ละส่วนจะเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้เขียนโปรแกรมเป็นภาษาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ส่วนผังงาน จะใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แทนการทำงานและทิศทางของโปรแกรม

3. เขียนโปรแกรม

        ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ โดยเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้อยู่ในรูปรหัสภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนตามภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยอาจใช้ภาษาระดับสูง หรือภาษาระดับต่ำ ซึ่งเลือกได้หลายภาษา การเขียนโปรแกรมแต่ละภาษาจะต้องทำตามหลักไวยากรณ์ (syntax) ที่กำหนดไว้ในภาษานั้น นอกจากนี้การเลือกใช้ภาษาจะต้องพิจารณาถึงความถนัดของผู้เขียนโปรแกรมอีกด้วย

4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

        หลังจากเขียนโปรแกรมจะต้องทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่เขียนขึ้น หาจุดผิดพลาดของโปรแกรมว่ามีหรือไม่ และตรวจสอบจนไม่พบที่ผิด จุดผิดพลาดของโปรแกรมนี้ เรียกว่า บัก (Bug) ส่วนการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้องเรียกว่า ดีบัก (Debug) โดยทั่วไปแล้วข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมจะมีสองประเภท คือ

1. การเขียนคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมภาษานั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า Syntax Error หรือ Coding Error ข้อผิดพลาดประเภทนี้เรามักพบตอนแปลภาษาโปรแกรมเป็นรหัสภาษาเครื่อง
2. ข้อผิดพลาดทางตรรกะ หรือ Logic Error เป็นข้อผิดพลาดที่โปรแกรมทำงานได้ แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่ถูกต้อง

5. ทำเอกสารและบำรุงรักษาโปรแกรม

        ขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกในการตรวจสอบข้อผิดพลาด โดยเขียนเป็นเอกสารประกอบโปรแกรมขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. คู่มือการใช้ หรือ User Document หรือ User Guide ซึ่งจะอธิบายการใช้โปรแกรม
2. คู่มือโปรแกรมเมอร์ หรือ Program Document หรือ Technical Reference ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการแก้ไขโปรแกรม และพัฒนาโปรแกรมในอนาคต โดยจะมีรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น ชื่อโปรแกรม การรับข้อมูล การพิมพ์ผลลัพธ์ขั้นตอนต่างๆ ในโปรแกรม เป็นต้น
        ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรม (Maintenance) ที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องคอยตรวจสอบการใช้โปรแกรมจริง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอเมื่อเวลาผ่านไป
http://areerat.phana.ac.th/it3/unit-1/intro_pro





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม 14/ก.พ./2563
      ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556
      การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556