[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
บริการข้อมูลสารสนเทศ
รายงานประจำปี

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 56 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สื่อการสอนครู


     

@ นำเสนอผลการเรียนรู้จากการใช้นวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓       

@ การพัฒนารูปแบบการบริหาร ร่วมคิด พาทำ        

@ สื่อการสอน ครูภาวิณี        

@ สื่อการสอน ครูกาญจนา        
 
 
ผลงานนักเรียน





  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
โดย : admin
เข้าชม : 2884
อาทิตย์ ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2556
A- A A+
        

ศธ.ได้เตรียมความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนี้

๑.จัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษา เพื่อให้คนไทยเข้าใจอาเซียน เข้าใจการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีวัฒนธรรมการกิน การอยู่ การดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

๒.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน

๓.การแลกเปลี่ยน ICT เพื่อเชื่อมโยงภายในประชาคมอาเซียนกันได้ โดยได้มีการจัดตั้ง ASEAN University และ Cyber University เพื่อการเชื่อมโยง นอกจากนี้ยังได้เตรียมการเพื่อให้มีการรับรองคุณวุฒิการศึกษา

ระหว่างกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน

๔.การใช้ภาษาอังกฤษ ศธ.ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.๖ สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต และสื่อการ

เรียนรู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น

๑) สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอนภาษาในโรงเรียน

๒) พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) โดยบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

๓) พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย

๔) การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้หลายโรงเรียนได้พัฒนาระบบการบริหารการศึกษาเพื่อตอบสนองแนวนโยบายของศธ.ที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งโรงเรียนศรีวิกรม์ซึ่งได้พัฒนาทั้งด้านหลักสูตรที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในแผนการเรียน English Programme (EP) และแผนการเรียน Intensive Programme (IP) ซึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยครูต่างชาติ การบูรณาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกับหลักสูตร International Primary Curriculum (IPC) ของประเทศอังกฤษ การส่งเสริม ICT โดยจัดทำ IT Zoneและใช้ Active Board ในการเรียนการสอน รวมทั้งจัดอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยีให้แก่ครูจนทำให้ครูทุกคนผ่านการทดสอบ MosCer (Power Point ) นอกจากนี้ ยังมีการอบรมภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียน ส่งครูศึกษาดูงานในต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร IPCและการวัดและประเมินผล

โดย อ.อัญชลี ภู่ประเสริฐ

ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์การเตรียมความพร้อมประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Preparation Centre: ACPC)
อ้างอิง





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม 14/ก.พ./2563
      ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556
      การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ info@mtb3.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป