[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
บริการข้อมูลสารสนเทศ
รายงานประจำปี

ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 56 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สื่อการสอนครู


     

@ นำเสนอผลการเรียนรู้จากการใช้นวัตกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓       

@ การพัฒนารูปแบบการบริหาร ร่วมคิด พาทำ        

@ สื่อการสอน ครูภาวิณี        

@ สื่อการสอน ครูกาญจนา        
 
 
ผลงานนักเรียน





  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
โดย : admin
เข้าชม : 2233
อาทิตย์ ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2556
A- A A+
        

การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
        ประชาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
          1. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจึงเป็นเสาหลักความร่วมมือ 1 ใน 3 เสาหลัก ที่เน้นการรวมตัวของอาเซียนเพื่อสร้างความมั่นใจ เสถียรภาพ และสันติภาพ ในภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในอาเซียนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และปราศจากภัยคุกคามด้านการทหาร และภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
          2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community หรือ AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิเช่น สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
          3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ระบุอยู่ในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
          ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์
(Human Development) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
(Social Welfare and Protection) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
(Social Justice and Rights) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental Sustainability) การสร้าง อัตลักษณ์อาเซียน
(Building and ASEAN Identity) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
(Narrowing the Development Gap)
          ในทางด้านการศึกษาของไทยในระดับอุดมศึกษานั้น ผู้เขียนมีมุมมองว่า ควรมีการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ดังนี้
          การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในเชิงนโยบาย คือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาควรมีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์รองรับการเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งควรมีนโยบายในการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
          การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา คือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนทางด้านการจัดระบบอุดมศึกษาของไทย ตั้งแต่การเปลี่ยนสถานะของอาจารย์จากที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้น ทำให้ความมั่นคงทางด้านอาชีพ ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางด้านฐานเงินเดือน ซึ่งจากเดิมการปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น รัฐบาลได้มีเจตนารมณ์ให้มีการจัดสรรงบประมาณและฐานเงินเดือนแก่พนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่า ฐานเงินเดือนของข้าราชการ 1.5 เท่า แก่พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน และ 1.7 เท่า แก่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการหรือ อาจารย์ แต่ในปัจจุบันหาได้เป็นไปตามเจตนารมณ์เดิมที่ได้ตั้งไว้ไม่
          บางมหาวิทยาลัยนั้นพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ยังมีสถานภาพที่มีความไม่มั่นคง และสุ่มเสี่ยงต่อการให้ออกจากงาน เนื่องจากยังยึดโยงอยู่กับระบบสัญญาที่ไม่มีความมั่นคง และขึ้นอยู่กับระบบการประเมินเพื่อต่อสัญญา ซึ่งบ่งบอกถึงความไม่มั่นคงในอาชีพ ตลอดจนปัญหาการบริหารจัดการที่ดี หรือธรรมาภิบาลของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลต่อสถานะของอาจารย์ที่ถูกเปลี่ยนไปทำให้ศักยภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน และการเพิ่มคุณภาพการศึกษาของไทยมีความอ่อนด้อยลงไปมาก
          ตลอดจนยังไม่มีระบบการเสริมสร้างและสนับสนุนให้พนักงานมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งทางด้านภาษา และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปอย่างเพียงพอต่อการรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจากผู้ที่เกี่ยวข้องและจากมหาวิทยาลัยในสังกัดเอง ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อการศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษา และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการศึกษา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วและมีนโยบายที่ชัดเจนต่อบุคลากรทางด้านการศึกษาดังกล่าว
          การปรับตัวด้านการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา คือ นักศึกษานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องเรียนรู้ปรับตัว และเตรียมการพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน ซึ่งสังคมยุคใหม่จะสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น
          การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้  ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
          ที่สำคัญที่สุด คือ การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะว่าถ้าหากชุมชนท้องถิ่นไม่มีมาตรการหรือ แผนรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็จะเกิดความเสียเปรียบทางด้านการแข่งขัน ทางด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ตลอดจนการสร้างชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน ที่จำเป็นต้องมีผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์ ให้มีความสามารถในการบูรณาการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียนให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก
          ซึ่งต้องมีกลไกและสถาบันการศึกษาต่างๆ ในท้องถิ่นนั้นต้องมีการสนับสนุนในการประสานงานและการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่ผู้นำชุมชน และประชาชนในท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้และปรับตัวในการวางแผนชุมชนท้องถิ่น เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป.

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม 14/ก.พ./2563
      ทิศทางการศึกษาไทยกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556
      การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย ในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 15/ก.ย./2556




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ info@mtb3.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป